Lecture


บทที่8 

 การเลือกใช้สีสำหรับเว็ปไซต์ 

 Designing Web Colors

เลือกใช้สีสำหรับเว็ปไซต์

  • การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน

  • การใช้สีที่มากเกินจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน

  • การใช้สีกลมกลืนกันช่วยให้เว็ปไซต์น่าชมมากยิ่งขึ้น



ประโยชน์ของสีในเว็ปไซต์



ใช้สีโทนน้ำตาล แต่นำสีฟ้ามาเป็นสีที่ดึงความน่าสนใจ


ใช้สีในการแบ่งแยกบริเวณต่างๆออกจากกัน


ใช้สีที่เป็นสัญลักษณ์มาเป็นสีหลักของเว็ปต์

สีกับอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
  • สีเเดง     เเสดงถึง พลัง อำนาจความโมโห ความก้าวร้าว
  • สีน้ำเงิน  เเสดงถึง ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ปลอดภัย 
  • สีเขียว     เเสดงถึง ธรรมชาต สุขภาพ ความยินดี
  • สีเหลือง  เเสดงถึง ความสดใส ร่าเริง การมองโลกในเเง่ดี ความหวัง ความอบอุ่น
  • สีม่วง      แสดงถึง ความสูงส่ง ความสร้างสรรค์ ความรอบรู้ ความแปลกใหม่
  • สีส้ม        เเสดงถึง กำลังความสามารถ ความเข้มเเข็ง กระตือรือร้น
  • สีน้าตาล  เเสดงถึง ความเรียบง่าย ความสะดวกสบาย ความมั่นคง เชื่อถือได้
  • สีเทา       แสดงถึง ความสุภาพ ความเป็นไปได้ ความมั่นคง
  • สีขาว       เเสดงถึง ความบริสุทธฺ์ ความไร้เดียงสา ความรัก ความฉลาด
  • สีดำ         แสดงถึง อำนาจ ความฉลาด ความเป็นเลิศ ความสุขม รอบคอบ


บทที่ 9

ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็ปไซต์

Designing Web Graphics

รายละเอียดของกราฟฟิกรูปแบบหลัก 2 ประเภทคือ GIF และ JPF
  • คุณสมบัติสำคัญ
  • วิธีบีบอัดข้อมูล
  • การนำไปใช้
  • การลดขนาด
  • แนะนำโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างและออกแบบ

แนะให้รู้ถึงลักษณะเด่นของกราฟฟิก PNG ด้วย
รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ ( GIF, JPG ,PNG )

GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format 
  • ได้รับความนิยมในยุคแรก
  • มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากที่สุด 256 สี
  • มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น




JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group
  • มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
  • ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)
  • ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด


PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic
  • สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต 24 บิต
  • มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดความสูญเสีย (lossless)
  • มีระบบการคุมค่าแกมม่า (Gamma) และความโปร่งใส (Transparency) ในตัวเอง

ระบบการวัดขนาดรูปภาพ


          รูปภาพที่ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์ คือ หน่วยพิกเซล(Pixel) ซึ่งมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆในหน้าเว็บ รวมถึงขนาดของหน้าต่างบราวเซอร์ด้วย

ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ



          ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย Pixel per inch(ppi) แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch(dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้แทนโดยความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก้อเพียงพอแล้ว

คำแนะนำในการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็ป

  • ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็ป (Web Palette)
  • เลือกใช้แบบกราฟฟิกที่เหมาะสม GIF หรือ JPEG
  • ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อย (Slices)


บทที่ 10  

จัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์ 

(Typography on the Web)

ตัวอักษรมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตัวอักษรให้ เหมาะสมกับเนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการสื่อ 
ตัวอักษรมีความสำคัญในการสื่อข้อความถึงผู้ใช้

ส่วนประกอบของตัวอักษร


Ascender :            ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
Descender :          ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline


Baseline :              เส้นสมมติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ 

Cap height :          ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ 


X-height :              ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่ 
                                 รวม ascender  และ descender  
Point size :            ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดของตัวอักษร 
ค่าความสูง x-height : จะมีผลต่อภาพรวมของตัวอักษรและความยากง่ายในการอ่าน

ความสะดวกในการอ่าน (Legibility) 
  •  หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะจะทำให้อ่านยาก และลดความสะดุดตาลง
  • การใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดในประโยค จะสร้างความรู้สึกไม่เป็นทางการ และแสดงถึงความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหา
  • การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำในประโยค ควรใช้อย่างจำกัด เพราะเป็นการรบกวนรูปแบบโดยรวมของคำ ส่งผลให้อ่านยากขึ้น
  • ไม่ควรแบ่งครึ่งสีตัวอักษรเพราะทำให้ภาพรวมของตัวอักษรขาดหายไป


สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดข้อความให้หน้าเว็บ 

  • การจัดตำแหน่ง (Alignment)
  • ช่องว่างระหว่างตัวอักษร และช่องว่างระหว่างคำ
  • การจัดตำแหน่งแบบ justify ทำให้เกิดช่องว่างของแต่ละคำ
  • ระยะห่างระหว่างบรรทัด
  • ความยาวของหน้าเว็บ
  • ขนาดของตัวอักษร
  • ดึงดูดความสนใจด้วยอักษรตัวใหญ่
  • การเน้นข้อความให้เด่นชัด
  • การใช้สีกับตัวอักษร
  • การกำหนดขอบแบบ Aliased และ Anti-aliased


คำแนะนำในการใช้ตัวอักษรในหน้าเว็บ
  • ไม่ควรใช้ตัวอักษรชนิดที่หายากหรือไม่ได้มาพร้อมกับโปรแกรมต่างๆหรือเครื่องคอมฯ
  • ระบุชนิดตัวอักษรให้ครอบคลุม
  • กำหนดลักษณะของตัวอักษรที่อยู่ในทุกช่องของตาราง
  • ระบุขนาดของตัวษรเสมอ
  • ใช้ CSS ในการควบคุมรูปแบบการแสดงผล  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น